วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การปลูกข้าว




 ชื่อกลุ่ม wonderfulrice


สมาชิกกลุ่ม

1.นางสาวอมรพันธ์ กิตติอาสา          503230713-7
2.นางสาวจันทร์จิรา เพียคำลือ          523230246-4
3.นางสาวกุลกันยา ชมสำราญ           523230245-6
4.นางสาวอัชราภรณ์ วงษ์ราชสีห์       523230260-0
5.นายนรินทร์ บุญศรี                         533230859-2


ระบบการจัดการความรู้ เรื่อง การปลูกข้าว 


         การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน






หลักการและเหตุผล

          การจัดการความรู้ เรื่อง การปลูกข้าว สมาชิกกลุ่มมีความสนใจในเรื่องการทำนาเนื่องมาจากการทำนานั้นเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เพราะประเทศไทยมีสภาพพื้นที่เหมาะเเก่การเพาะปลูกและเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงรณรงค์ให้ชาวไทยได้ใช้ชีวิตที่พอเพียง พอมีพอกิน


Model ที่ใช้

         SECI  Model 




            เหตุผลที่เลือกใช้ SECI Model  ก็เพราะว่าเรื่องการปลูกข้าว คณะผู้จัดทำต้องมีการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์กับเกษตรกรที่ทำนาจริงๆ จึงทำให้เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวเกษตรกรออกมาให้สามารถเพยแพร่ได้  โดยเป็นการสอบถามจากประสบการณ์ที่เกษตรกรได้ทำมาทั้งได้ผลและไม่ได้ผลในการหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกข้าวก็เหมือนกับเราใช้ SECI  Model ในการจัดการความรู้ซึ่งมีการจัดการความรู้ดังนี้

         S  เป็นการที่เราได้รับความรู้จากที่เกษตรกรพูดถึงประสบการณ์ในการทำนาปลูกข้าวที่เกษตรกรได้ลองผิดลองถูกมาแล้ว เช่น การใส่ปุ๋ยเกษตรกรไม่รู้หรอกว่าในสูตรปุ๋ยแต่ละสูตรนั้นมันช่วยให้ข้าวได้รับสารอาหารอย่างไร แต่ได้รู้จากประสบการณ์ที่ได้ทำมา


         E  เป็นการที่เกษตรกรได้อธิบายขั้นตอนการปลูกข้าวให้คณะผู้จัดทำได้ทราบถึงขั้นตอนต่างๆ ในการปลูกข้าว และผู้จัดทำก็ได้นำความรู้นั้นมาจัดทำเป็น Blogger  เพื่อเพยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าว

        C   เป็นการที่ผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องการปลูกข้าวของเกษตรกรไทย นำข้อมูลที่เราได้ปัยเก็บรวบร่วมมาไปทำวิจัยหรือปรับปรุงการปลูกข้าวให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และช่วยลดต้นทุนของเกษตรกรก็อาจเป็นได้


         I   เป้นการที่ผู้ศึกษาได้นำความรู้การปลูกข้าวไปปฏิบัติจริง ทำให้ผู้ศึกษาได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวและผสมกับความคิดของคนเองจะทำให้ผู้ศึกษามีความรู้เรื่องการปลูกข้าวติดตัวเองโดยที่ไม่ต้องเปิดตำราหรือขั้นตอนการปลูกข้าวอีก เพียงแค่ลงมือทำแค่ครั้งเดี่ยวก็จะทำให้สามารถเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวได้แล้ว